โรคเหงือกอักเสบ กับ การขูดหินปูน

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

โรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคในช่องปากที่พบได้บ่อยและมักอาการไม่รุนแรง เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้เช่นกัน โดยโรคเหงือกอักเสบสามารถพัฒนาเป็นโรคปริทันต์อักเสบหรือโรครำมะนาดได้ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
การดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟัน และตรวจฟันกับทันตแพทย์เป็นประจำปีจะช่วยป้องการเกิดโรคได้

สาเหตุของโรคเหงืออักเสบ

เกิดจากคราบเชื้อโรคที่ก่อตัวขึ้นที่ผิวฟัน และเหงือก ลักษณะเป็นคราบสีขาว ที่ประกอบด้วยแบคทีเรีย และคราบอาหารจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่ดีพอ ส่งผลให้กระตุ้นการการทำงานของเม็ดเลือดขาว ก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือกตามมา และคราบเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการสะสมของแร่ธาตุและแข็งตัวมากขึ้นจนเกิดเป็นหินปูนนั่นเอง

อาการของโรคเหงือกอักเสบ

  • เหงือกบวม กดเจ็บ มีสีแดงเข้มหรือช้ำ
  • มีเลือดออกง่ายขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
  • เหงือกร่น
  • มีกลิ่นปาก

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ

  • การดูแลช่องปากที่ไม่เหมาะสม
  • ภาวะปากแห้ง
  • การสูบบุหรี่ ยาเส้น
  • ภาวะขาดสารอาหาร
  • อายุที่มากขึ้น
  • ฟันซ้อนเกหรือมีผิวฟันผิดปกติ
  • โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน มะเร็ง
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จากการตั้งครรภ์ มีประจำเดือน ทานยาคุมกำเนิด
  • พันธุกรรม

การรักษาโรคเหงือกอักเสบ

  • การทำความสะอาดช่องปากโดยทันตแพทย์ โดยจะทำการขูดฟันและเกลารากฟันเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และหินปูนออกจากผิวฟันและร่องเหงือก จากนั้นจะขัดผิวฟันให้เรียบเนียนป้องกันการกลับมาของหินปูน
  • การอุดฟันหรือขัดผิววัสดุอุดฟัน จะทำในกรณีที่วัสดุอุดฟันเดิมนั้นมีส่วนเกินกดเหงือก ทำให้เหงือกระคายเคือง หรือทำให้ทำความสะอาดฟันได้ไม่สะดวก
  • การดูแลช่องปากของตนองอย่างถูกต้องและอย่างสม่ำเสมอ

Similar Posts