การรักษาฟันที่ประสบอุบัติเหตุ
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
- ลักษณะของฟันที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุ
- ผลกระทบจากการไม่ได้รับการรักษา
- วิธีปฏิบัติตัวและปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ลักษณะของฟันที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุ
ฟันที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุมักจะอยู่ในรูปแบบของ ฟันหัก ฟันบิ่นแตก (Broken tooth / Chipped tooth) สามารถพบได้กับทุกเพศทุกวัย มักเกิดจากการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เสี่ยงกับการกระทบโครงสร้างของฟัน เช่น เคี้ยวของแข็งจนฟันแตก เป็นต้น
ผลกระทบจากการได้ไม่รับการรักษา
- ประสิทธิภาพในการกัดเคี้ยวอาหารแย่ลง อาจมีอาการปวด เสียวฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้
- อาจมีการติดเชื้อในรากฟัน หรือกระดูกรอบรากฟัน ส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม หรือฟันโยกได้
- อาจมีสีฟันที่เปลี่ยนไป เช่น ฟันสีเทาขึ้น หรืออาจมีสีชมพูขึ้น อันเกิดมาจากเส้นเลือดในฟันแตก
- เคลือบฟันเสียหาย การปกป้องฟันจากพวกแบคทีเรียเสื่อมลง ส่งผลกับโครงสร้างของฟัน อีกทั้งยังทำให้คราบสีจากอาหารติดตามรอบร้าวของฟันได้ง่ายขึ้น
- ส่งผลต่อความมั่นใจ โดยเฉพาะเมื่อฟันหน้าแตกหัก
วิธีปฏิบัติตัวและปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ตั้งสติ
- ถ้าฟันหลุดหรือหักไป ให้พยายามหาชิ้นส่วนฟันให้เจอ ถ้าอยู่ในปากให้อมไว้ที่ข้างแก้ม
- ถ้าหากฟันหลุดออกมานอกปาก ให้จับฟันในตำแหน่งที่เป็นตัวฟัน (ส่วนสีขาว) ห้ามจับ ขูด ลูบ เช็ด ถู รากฟันโดยเด็ดขาด
- ล้างฟันด้วยน้ำสะอาดแบบไหลผ่าน หรือแกว่งในแก้วที่ใส่น้ำสะอาด หรือนมจืด
- ถ้าสามารถใส่ฟันกลับเข้าไปในเบ้าฟันเอง ได้ให้รีบใส่ให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องกังวลว่าจะผิดตำแหน่งหรือไม่ เนื่องจากทันตแพทย์สามารถแก้ไขให้ได้ในภายหลัง
- ถ้าหากไม่สามารถใส่ฟันกลับที่ในปากได้ ให้พยายามแช่ฟัน หรือชิ้นส่วนฟันไว้ในนมสด / น้ำเกลือ /หรือ อมไง้ข้างแก้ม
- รีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด ไม่ควรเกิน 1-2 ชั่วโมง เนื่องจากมีผลต่อผลการรักษา และเตรียมประวัติการฉีดวัคซีนบาดทะยักมาด้วยถ้ามี
- ทันตแพทย์จะทำการยึดฟันกลับเข้าตำแหน่งเดิมให้ได้ และอาจจะต้องดามฟันไว้ 2-4 สัปดาห์ และอาจจะต้องมารับการตรวจอย่างต่อเนื่อง