โรคเหงือกอักเสบ กับ การขูดหินปูน

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน โรคเหงือกอักเสบ โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคในช่องปากที่พบได้บ่อยและมักอาการไม่รุนแรง เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้เช่นกัน โดยโรคเหงือกอักเสบสามารถพัฒนาเป็นโรคปริทันต์อักเสบหรือโรครำมะนาดได้ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม การดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟัน และตรวจฟันกับทันตแพทย์เป็นประจำปีจะช่วยป้องการเกิดโรคได้ สาเหตุของโรคเหงืออักเสบ เกิดจากคราบเชื้อโรคที่ก่อตัวขึ้นที่ผิวฟัน และเหงือก ลักษณะเป็นคราบสีขาว ที่ประกอบด้วยแบคทีเรีย และคราบอาหารจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่ดีพอ ส่งผลให้กระตุ้นการการทำงานของเม็ดเลือดขาว ก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือกตามมา และคราบเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการสะสมของแร่ธาตุและแข็งตัวมากขึ้นจนเกิดเป็นหินปูนนั่นเอง อาการของโรคเหงือกอักเสบ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ การรักษาโรคเหงือกอักเสบ

ฟันคุด

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ฟันคุด คืออะไร ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ มีลักษณะการล้มเอียงของฟันที่ผิดปกติไปหรือมีพื้นที่ไม่เพียงพอให้ฟันขึ้น ทำให้เห็นฟันขึ้นเพียงฟันบางส่วน หรือไม่เห็นในช่องปากเลยเนื่องจากฟันฝังตัวอยู่ใต้เหงือกบริเวณกระดูกขากรรไกร โดยส่วนใหญ่จะพบได้ที่ตำแหน่งฟันกรามซี่ในสุด นอกจากนี้ยังพบได้ที่ตำแหน่งฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย หรือจุดที่เกิดฟันเกินได้อีกด้วย ฟันคุดเกิดจากอะไร ฟันคุดเกิดจากการพื้นที่บริเวณขากรรไกรมีไม่เพียงพอให้ฟันขึ้นได้อย่างเหมาะสม หรือการวางตัวของหน่อฟันที่ล้ม เอียง หรืออยู่ผิดตำแหน่ง อาจเป็นผลมาจากพันธุกรรมที่ขากรรไกรมีขนาดเล็ก แคบ หรือตัวฟันมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ฟันคุดมีกี่แบบ โดยทั่วไปฟันคุดมี 2 แบบ แบ่งตามลักษณะของเนื้อเยื่อที่ปกคลุมฟันคุดได้ ดังนี้1. ฟันคุดแบบมีเหงือกปกคลุม (Soft Tissue Impaction) ลักษณะฟันคุดประเภทนี้ จะสามารถคลำได้ในช่องปาก จะมีเพียงเหงือกที่คลุมตัวฟันอยู่ บางกรณีอาจสามารถมองเห็นตัวฟันได้บางส่วน ฟันคุดประเภทนี้สามารถถอนได้ หรือผ่าแต่เหงือกโดยไม่ต้องกรอกระดูก2. ฟันคุดที่อยู่ภายใต้กระดูกขากรรไกร (Bony impaction)  เป็นฟันคุดที่มีกระดูกคลุมตัวฟันบางส่วนหรือทั้งซี่ ฟันคุดประเภทนี้มักจะพบจากการถ่ายภาพรังสี และจะมีความยากกว่าในการผ่าตัด เนื่องจากจะต้องมีการกรอกระดูกหรือกรอฟันร่วมด้วย รู้ได้อย่างไรว่ามีฟันคุด ฟันคุดมีหลายแบบ บางกรณีอาจจะมองไม่เห็นได้ด้วยตา หรือคลำได้ในช่องปาก เพราะฟันไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกตามแนวฟันปกติได้ แต่สามารถสังเกตฟันคุดได้ ดังนี้1. เริ่มมีการปวดหรือเจ็บเมื่อสัมผัสบริเวณฟันคุด รู้สึกเจ็บเหงือกที่คลุมฟันคุด หรือเมื่อกัดหรือเคี้ยวอาหารโดนบริเวณฟันคุดอาจทำให้รู้สึกปวดได้2. มีอาการเหงือกบวมแดง…