การรักษาฟันที่ประสบอุบัติเหตุ

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ลักษณะของฟันที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุ ฟันที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุมักจะอยู่ในรูปแบบของ ฟันหัก ฟันบิ่นแตก (Broken tooth / Chipped tooth) สามารถพบได้กับทุกเพศทุกวัย มักเกิดจากการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เสี่ยงกับการกระทบโครงสร้างของฟัน เช่น เคี้ยวของแข็งจนฟันแตก เป็นต้น ผลกระทบจากการได้ไม่รับการรักษา วิธีปฏิบัติตัวและปฐมพยาบาลเบื้องต้น

รากฟันเทียม

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน รากฟันเทียมคืออะไร รากฟันเทียม คือ การรักษาเพื่อทดแทนฟันที่หายไปเนื่องจากฟันผุ โรคเหงือกหรืออุบัติเหตุ โดยใช้วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร ซึ่งรากฟันเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการทดแทนฟันที่ดีที่สุด โดยรากเทียมจะผลิตขึ้นจากวัสดุโลหะไทเทเนียม หรือเซรามิกที่สามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี จากนั้นทันตแพทย์จะเป็นผู้ออกแบบรูปร่างและสีของครอบฟันบนรากเทียมให้มีความใกล้เคียงกับสีของฟันธรรมชาติมากที่สุด การใส่ฟันรากเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมอบประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ทำให้คนไข้สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ ช่วยเรื่องการพูดออกเสียง และความสวยงามอีกด้วย ประโยชน์อื่น ๆ ของการทำฟันรากเทียมคือช่วยลดการละลายของสันกระดูกตำแหน่งที่ฟันหายไป เนื่องจาก หลังจากเวลาผ่านไปกระดูกที่ทำหน้าที่รองรับรากฟันของซี่ที่ได้รับการถอนจะเกิดการละลาย ส่งผลให้เกิดการยุบตัวของกระดูกบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะจะกระทบบริเวณฟันหน้าด้านบน ส่งผลให้โครงหน้าเปลี่ยน มุมปากตก หน้ายุบ ดูมีอายุเกินวัย  แต่การทำฟันรากเทียมจะช่วยรักษากระดูกรองรับรากฟันไว้และช่วยคงไว้ซึ่งกระดูกส่วนนั้นให้คงอยู่สภาพเดิมและละลายได้ช้ากว่าทำ ทำให้คนไข้ยิ้มได้อย่างมั่นใจได้มากกว่า ส่วนประกอบของรากฟันเทียม ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม ข้อดีของรากฟันเทียม ข้อจำกัดของรากฟันเทียม โดยทั่วไปผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปสามารถรักษาด้วยรากเทียมได้ แต่ไม่ยังแนะนำให้ทำในผู้ที่อายุยังไม่ถึง 20 ปีเนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ และในกรณีที่คนไข้สามารถทำการรักษาได้หลังจากช่วงคลอดและให้นมบุตรแล้ว ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น คนไข้โรคเบาหวานชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคมะเร็งที่รับการรักษาด้วยการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร คนไข้โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง คนที่เป็นป่วยเป็นโรคลูคิเมีย ผู้ที่รับรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษากระดูกพรุนบางตัว หรือผู้ที่สูบบุหรี่จัด อาจไม่สามารรถทำการรักษาได้ หรืออาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาอื่นๆเพิ่มเติมก่อนทำการผ่าตัดฝังรากเทียม

วีเนียร์

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน วีเนียร์คืออะไร การทำวีเนียร์ (Dental Veneer) คือแผ่นวัสดุที่มีสีและรูปร่างใกล้เคียงกับเคลือบฟันธรรมชาติ และนำไปยึดติดกับผิวฟัน เพื่อแก้ไขความผิดปกติต่างๆ ของฟัน ทั้งรูปร่าง ขนาด หรือสีฟัน มีความแข็งแรง คงทน และสวยงาม วีเนียร์มีกี่ประเภท 1. เคลือบฟันเทียมที่ทำโดยตรงในช่องปาก (Direct Veneer)เป็นทำโดยตรงในช่องปาก กล่าวคือหลังจากกรอเตรียมผิวฟันแล้วทันตแพทย์จะเคลือบผิวฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันซึ่งคล้ายกับการอุดฟัน มีข้อดีคือ สามารถทำเสร็จในครั้งเดียว และราคาถูกกว่า แต่มีข้อเสียในเรื่องความคงทน อายุการใช้งานที่น้อยกว่า ความสวยงาม และต้องอาศัยทักษะความชำนาญของทันตแพทย์ผู้ทำสูง 2. เคลือบฟันเทียมที่ทำนอกช่องปาก (Indirect Veneer)หลังจากกรอเตรียมผิวฟันแล้วทันตแพทย์จะพิมพ์ฟันเพื่อนำไปสร้างชิ้นงานโดยช่างทันตกรรมในห้องปฏิบัติการ วิธีนี้จะมีหลายขั้นตอน และต้องมาทำการรักษาหลายครั้ง โดยแผ่นวีเนียร์มักจะเป็นวัสดุชนิด Ceramic ซึ่งจะมีความสวยงาม และแข็งแรงใกล้เคียงฟันธรรมชาติ มีอายุการใช้งาน 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแลรักษา วีเนียร์ช่วยแก้ไขฟันที่มีปัญหาแบบใดได้บ้าง วีเนียร์กับฟอกสีฟันต่างกันอย่างไร ฟอกสีฟัน เป็นการทำให้ฟันขาวขึ้นด้วยสารเคมีที่เข้าไปทำปฏิกิริยาในเนื้อฟันทำให้ฟันขาว สว่างขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปฟันจะกลับมาเหลืองได้อีกตามการใช้งานและอาหารที่รับประทาน มีคราบสีติดได้ แต่วัสดุวีเนียร์จะไม่ดูดสี ความขาวจะคงทนกว่า และเกิดคราบสีบนผิวฟันได้ยากกว่า วีเนียร์กับครอบฟันต่างกันอย่างไร วีเนียร์ เหมาะที่จะนำมาแก้ไขความผิดปกติของฟัน…

ฟันเทียม

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ฟันเทียมคืออะไร ฟันเทียม หรือฟันปลอมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นมาใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่ถอนไป หรือใช้เพื่อทดแทนเนื้อฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว ป้องกันการเกิดปัญหาการล้มเอียงของฟัน ป้องกันการยื่นยาวของฟันคู่สบ ช่วยในการออกเสียง ชะลออัตราการสึกฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่และเพื่อความสวยงาม ชนิดของฟันเทียม ขั้นตอนการรักษา วิธีการดูแลรักษาฟันเทียม ฟันเทียมชนิดถอดได้1. ผู้ป่วยควรถอดออกทำความสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร และก่อนนอน2. ใช้แปรงสีฟันขนนิ่มร่วมกับน้ำสบู่อ่อนหรือยาสีฟันชนิดที่ไม่มีผงขัด แปรงทำความสะอาดทั้งด้านนอกและด้านในของฟันเทียม3. ควรถอดฟันเทียมก่อนนอน หลังรับประทานอาหารเย็นเสร็จ หรือเมื่อไม่ได้ใช้ฟันปลอมในการบดเคี้ยวอาหาร พบปะผู้คน เพื่อป้องกันการเกิดเนื้อเยื่อในช่องปากอักเสบหรือติดเชื้อราใต้ฐานฟันปลอม4. เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว ควรแช่น้ำในภาชนะที่มีฝาปิด5. ฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ในช่องปากก็จำเป็นต้องได้รับการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม เนื่องจากผู้ป่วยมักจะทำความสะอาดได้ยากขึ้น โดยเฉพาะฟันด้านที่ติดกับสันเหงือกไร้ฟัน อาจใช้แปรงขนาดเล็ก หรือผ้าก๊อซเช็ดทำความสะอาดร่วมด้วย ฟันเทียมแบบติดแน่นการดูแลและทำความสะอาดจะเหมือนฟันธรรมชาติคือ แปรงฟันอย่างถูกวิธี ร่วมกับการใช้เครื่องมือช่วยอื่น เช่น ไหมขัดฟัน ทั้งนี้ ฟันที่ทำครอบฟันหรือสะพานฟันติดแน่นแล้วนั้น ยังสามารถเกิดรอยผุต่อได้ถ้าหากดูแลไม่ถูกวิธี

ทันตกรรมเด็ก

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pediatric Dentistry) เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็ก มีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน ทั้งร่างกาย และความร่วมมือ ฟันเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่เด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างมาก ฟันน้ำนมในเด็กนั้นมีซี่เล็กกว่าและลักษณะโครงสร้างอื่นๆที่ต่างจากฟันแท้ ทำให้จำเป็นต้องมี “ทันตกรรมสำหรับเด็ก” โดยเฉพาะขึ้น ทันตกรรมสำหรับเด็ก คือการรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นมาในช่องปาก ในช่วงอายุประมาณ 6 – 8 เดือน ไปจนถึงช่วงวัยรุ่นตอนกลางอายุประมาณ 15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันแท้ขึ้นมาแทนฟันน้ำนมทั้งหมดแล้ว โดยจะเน้นไปที่การดูแลฟันน้ำนมเป็นหลัก ทั้งการแนะนำในการดูแลฟันน้ำนม การทำทันตกรรมเพื่อป้องกันฟันน้ำนมผุ และรักษาฟันผุ เพื่อให้ฟันน้ำนมคงอยู่ในช่องปากจนกว่าฟันแท้จะขึ้นมาทดแทน และดูแลฟันแท้ที่ขึ้นมาในช่องปากตั้งแต่อายุยังน้อยให้คงทนและแข็งแรงต่อไปจนกว่าเด็กจะสามารถดูแลสุขภาพฟันของตนเองได้ ทันตกรรมสำหรับเด็กแตกต่างกับทันตกรรมผู้ใหญ่อย่างไร ทันตกรรมสำหรับเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากฟันน้ำนมในเด็กกับฟันแท้ในผู้ใหญ่มีโครงสร้างที่แตกต่างกัน การทำฟันเด็กจะเน้นดูแลและป้องกันฟันผุเป็นหลัก เนื่องจากลักษณะของฟันน้ำนมนั้น ผุได้ง่ายกว่าฟันแท้ นอกจากนี้ เด็กยังเป็นวัยที่ไม่สามารถแยกความเจ็บปวด ออกจากความกลัวหรือความเครียดได้ เมื่อมีอาการปวดฟันหรือรู้สึกกดดันเมื่อทำฟันก็จะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำฟันเด็กจึงต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องจิตวิทยาการสื่อสารกับเด็กๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่แตกต่างกับทันตกรรมในผู้ใหญ่ค่อนข้างมาก ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง? พาลูกไปหาหมอฟันที่ไหนดี เราดูแลฟันของเด็กๆ โดยทันตแพทย์เด็กผู้เชี่ยวชาญ ในสถานทันตกรรมที่สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานทางทันตกรรม คลินิกอยู่ริมถนน ใกล้กับห้างเซนทรัลพิษณุโลกเพียง 350 เมตร มีลานจอดรถกว้างขวาง เดินทางสะดวก

ทันตกรรมทั่วไป

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ทันตกรรมทั่วไป ทันตกรรมทั่วไป คือ การดูแลรักษาสุขภาพฟันและช่องปากพื้นฐาน การให้คำปรึกษา การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นต่าง ๆ รวมถึงการตรวจ รักษา ดูแลสุขภาพช่องปากประจำปี ครอบคลุมรักษาเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน เช่น การอุดฟัน ถอนฟัน และทันตกรรมป้องกัน เช่น ขูดหินปูน เคลือบหลุมรองฟัน เคลือบฟลูออไรด์ เป็นต้น การตรวจวินิจฉัย และให้คำปรึกษาการตรวจวินิจฉัย และให้คำปรึกษา เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการตรวจเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละบุคคล ในขั้นตอนนี้อาจมีการถ่ายภาพรังสี พิมพ์ปาก ถ่ายภาพในช่องปาก แสกนช่องปากสามมิติ เพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น การดูแลสุขภาพเหงือก การดูแลสุขภาพเหงือก เป็นดูแลสุขภาพช่องปาก เหงือก และฟันโดยการกำจัดคราบแบคทีเรียและหินปูน โดยเครื่องมืออัลตราโซนิคกระเทาะหินปูนเพื่อให้หินปูนหลุดจากผิวฟัน รวมกับการขูดโดยใช้เครื่องมือแบบด้ามเก็บรายละเอียด จากนั้นทำการขัดผิวฟันให้เรียบด้วยผงขัดฟัน และอาจจะมีการเคลือบฟลูออไรด์เพื่อลดการเสียวฟันและป้องกันฟันผุเพิ่มเติม การขูดหินปูน ขัดฟัน จะช่วยลดคราบบนฟัน ลดกลิ่นปาก และป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวม และป้องกันการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ อันเป็นสาเหตุให้ฟันโยก และสูญเสียฟัน การอุดฟัน การอุดฟัน คือ วิธีการบูรณะฟันที่มีการสูญเสียเนื้อฟันไป ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น…

จัดฟันแบบ Self Ligating System

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน การจัดฟันแบบ Self Ligating System คือะไร จัดฟันแบบ Self-Ligating System คือ เครื่องมือจัดฟันที่มีนวัตกรรมใหม่ ที่ไม่ต้องใช้ยางรัด แต่ใช้กลไกการบานพับขนาดเล็กที่ยึดกับลวดอย่างหลวมๆ  เครื่องมือแบร็คเก็ต (Bracket) หรือวัสดุยึดติดกับฟันมีหลายยี่ห้อ เช่น Damon™  Empower และ Clippy เครื่องมือจัดฟันแบบ Self-ligating จะความโดดเด่นอยู่ที่เครื่องมือทั้งระบบทำงานได้อย่างอิสระด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งยางมัดเข้ากับลวดเพื่อดึงฟัน ทำให้การเคลื่อนฟันใช้ความฝืดต่ำ ใช้เเรงดึงฟันที่น้อย ฟันเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น โดยที่ไม่เกิดความเจ็บปวดเมื่อปรับเครื่องมือจัดฟัน อีกทั้งเมื่อใช้ร่วมกับยางดึงฟันหรือหมุดจัดฟันจะสามารถเคลื่อนฟันได้มีประสิทธิภาพกว่าการจัดฟันแบบธรรมดา ความแตกต่างระหว่างจัดฟันแบบ Self-ligating กับการจัดฟันธรรมดา หลักการการจัดฟันธรรมดา จะใช้ยางรัดฟัน เป็นตัวยึดเเบร็คเก็ตเเละลวดจัดฟันเข้าด้วยกัน เพื่อดึงให้ฟันเคลื่อนตัว แต่ข้อเสียคือ แรงดึงของยางที่สูง เกิดความฝืดมาก ส่งผลให้คนไข้จะรู้สึกปวดฟัน 3 – 5 วันแรกในช่วงที่แรงดึงยางค่อนข้างสูง และจะลดลงอย่างรวดเร็วในวันต่อๆมา ทำให้คนไข้ต้องมาพบทันตแพทย์ทุกๆเดือนเพื่อเปลี่ยนยางเเละปรับเครื่องมือจัดฟัน ฟันจะเคลื่อนตัวได้ช้ากว่า เพราะเเรงดึงที่ไม่สม่ำเสมอ แรงดึงของยางรัดฟันจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถรัดลวดให้อยู่กับแบร็คเก็ต(เหล็กจัดฟัน)ได้อย่างเต็มที่ในช่วงท้ายๆของเดือน อาจทำให้ลวดหลุดออกมาและเสียการควบคุมฟันไป แต่จัดฟันแบบ Self-ligating เนื่องจากที่เครื่องมือสามารถยึดลวดได้ด้วยตัวเอง…

รักษารากฟัน

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน การรักษารากฟันคืออะไร การรักษารากฟัน คือ การรักษาที่มีจุดประสงค์เพื่อเก็บรักษาฟันธรรมชาติที่มีการอักเสบ หรือติดเชื้อในคลองรากฟัน ให้คงอยู่ในช่องปาก และสามารถใช้งานต่อได้ตามปกติ โดยใช้วิธีทางทันตกรรมต่างๆมาทำความสะอาดในคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรคและป้องกันการติดเชื้อต่อไปในอนาคต สาเหตุของการรักษารากฟัน ซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถทำให้เชื้อโรคลงไปสู่โพรงประสาทฟัน ก่อให้เกิดอาการอักเสบของโพรงประสาทฟัน และก่อให้เกิดอาการฟันตายได้ หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดการสะสมของหนองในเนื้อเยื่อที่ปลายรากฟันบริเวณกระดูกขากรรไกร ทำให้สร้างความเจ็บปวด เกิดอาการบวม และเป็นหนองออกมาที่ผิวหนังได้ อาการที่เกิดมาจากรากฟันอักเสบติดเชื้อ 1. ปวดฟันโดยไม่ทราบสาเหตุมีอาการปวดฟัน บางครั้งอาจจะเป็นอาการปวดฟันเพียงเล็กน้อย จนถึงมีอาการปวดอยู่ตลอดเวลา ปวดขึ้นเอง หรือปวดจนนอนไม่ได้2. ปวดฟันระหว่างกัดฟันหรือเคี้ยวอาหาร มีอาการปวดฟันเมื่อบดเคี้ยวอาหาร ผลไม้หรือน้ำแข็ง ปวดลึกจนถึงเหงือก ปวดร้าว ถือเป็นสัญญาณเตือนที่อาจจะเกิดจากฟันร้าวได้3. รู้สึกเสียวฟันมาก เวลาทานของร้อนและของเย็น มีอาการเมื่อรับประทานอาหารทั้งของร้อน และของเย็นจนมีอาการเสียวฟัน หรือปวดฟันขึ้นมา และมีอาการปวดคงอยู่4. ปวดและเหงือกบวมจากอาการเหงือกติดเชื้อ มีหนอง ซึ่งมักจะมีอาการเป็นๆหาย ๆ5. มีอาการบวมในปาก แก้ม คาง หรือหน้าโดยมักจะมีไข้ หรืออาการปวดร่วมด้วย การเตรียมตัวก่อนการรักษารากฟัน ขั้นตอนการรักษารากฟัน การปฏิบัติตัวหลังจากรักษารากฟัน

จัดฟัน

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน การจัดฟันคืออะไร การจัดฟัน (Orthodontics) เป็นสาขาหนึ่งในทางทันตกรรม ที่ให้การวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาความผิดปกติ ของการเรียงฟัน และการสบฟัน รวมทั้งปัญหาความผิดปกติของขนาดและความสัมพันธ์ของขากรรไกรต่อใบหน้า การจัดฟัน เป็นการรักษาเพื่อให้มีการสบฟันที่ดีขึ้น เพื่อการบดเคี้ยวอาหารที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดอัตราเสี่ยงในการเกิดฟันผุหรือโรคเหงือกอันเนื่องมาจากความลำบากในการทำความสะอาดฟันและเหงือก ในบริเวณที่ฟันเรียงตัวผิดปกติ หลีกเลี่ยงการเกิดการสึกของฟันที่ผิดปกติจาการเรียงฟันหรือสบฟันที่ไม่เหมาะ สม นอกจากนี้ยังอาจช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพจากการที่มีฟันเรียงกันสวยงาม ฟันแบบไหนที่ควรจัดฟัน 1. การสบฟันที่ผิดปกติการสบฟันที่ดี คือการที่ฟันเรียงตัวกันอย่างถูกต้อง เหมาะสม ฟันล่างและฟันบนจะต้องสบเข้าคู่กันเรียงตัวกันชิดไม่มีช่องว่าง บิดหมุน หรือสบไขว้กัน ฟันหน้าบนสามารถยื่นครอบลงมากับฟันหน้าล่าง โดยสมมาตร การสบฟันผิดปกติจึงหมายถึงอาการผิดปกติที่ฟันบน หรือฟันล่าง ยื่นออกมาเกินขอบเขตที่ควรจะเป็น เช่น อาการฟันยื่น ฟันสบคร่อม ฟันล่างคร่อมฟันบน ฟันสบลึก เป็นต้น การสบฟันที่ผิดปกตินั้น นอกจากจะทำให้ภาพลักษณ์ภายนอกดูไม่สวยงาม ไม่มั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังทำให้การบดเคี้ยวอาหารไม่สะดวก รวมถึงการทำความสะอาดที่ยากกว่าฟันที่เรียงตัวดี การสบฟันที่ผิดปกติเป็นอาการที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง หากไม่รีบแก้ไข อาจต้องใช้เวลา และมีความยากในการรักษามากยิ่งขึ้น 2. ฟันซ้อนเกฟันซ้อนเก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ฟันเรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบ หรืออาจมีจำนวนฟันเพิ่มมากกว่าปกติ ทำให้เกิดความยากในการดูแลทำความสะอาด และสร้างปัญหาอื่นๆตามมา เช่น อาการเหงือกอักเสบ…

จัดฟันใส

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน Invisalign คืออะไร Invisalign หรือ การจัดฟันแบบใส คือ การใช้เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ที่มีความใส ลักษณะเป็นถาดสวมทับไปบนฟัน และค่อยๆเคลื่อนฟันไปทีละน้อยไปสู่ตำแหน่งที่ทันตแพทย์ออกแบบไว้ โดยเครื่องมือจะถูออกแบบและวางแผนการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีการสร้างภาพสามมิติ และนำมาผลิตชุดเครื่องมือจัดฟันเฉพาะสำหรับแต่ละคนขึ้นมา โดยภาพโปรแกรมสามมิติจะแสดงภาพของการเคลื่อนที่ของฟันทีละขั้นตอน จากแรกเริ่มของการทำงานจนกระทั่งฟันเรียงตัวจนสวยงาม และเครื่องมือจัดฟันแบบใสนั้นจะทำงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังภาพสามมิติที่แสดงไว้ โดยเครื่องมือจัดฟันแต่ละชุดจะมีการกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้ฟันเคลื่อนที่ไปตามทิศทางนั้น ๆ คนไข้จะต้องใส่เครื่องมือตลอดเวลาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ หลักการทำงานของการจัดฟันใส Invisalign ใช้เทคโนโลยีสแกนช่องปาก 3D เพื่อตรวจสอบสภาพฟัน และวางแผนการจัดฟันอย่างเป็นระบบโดยทันตแพทย์ จากนั้นแผนการรักษาแบบ 3D จะถูกส่งไปผลิตชุดอุปกรณ์จัดฟัน ที่มีลักษณะเป็นถาดสีใส ซึ่งออกแบบเฉพาะของคนไข้แต่ละคน ซึ่งหลักการจัดฟันแบบนี้นั้น คนไข้จะต้องใส่ชุดจัดฟัน Invisalign ตามระยะเวลาที่ทันตแพทย์กำหนด ร่วมกับการติดวัสดุบนผิวฟันที่เรียกว่า Attachment ที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่กำหนดการเคลื่อนที่ของฟัน เครื่องมือจะกดและขยับฟันไปยังตำแหน่งที่วางแผนไว้ โดยจะใส่ชิ้นงานประมาณ 7-14 วัน/คู่ และเปลี่ยนใส่เครื่องมือคู่ถัดไปเมื่อถึงเวลาที่กำหนด ข้อดีของการจัดฟัน Invisalign ข้อจำกัดของการจัดฟัน Invisalign การปฏิบัติตัวระหว่างจัดฟัน Invisalign