การรักษาฟันที่ประสบอุบัติเหตุ

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ลักษณะของฟันที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุ ฟันที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุมักจะอยู่ในรูปแบบของ ฟันหัก ฟันบิ่นแตก (Broken tooth / Chipped tooth) สามารถพบได้กับทุกเพศทุกวัย มักเกิดจากการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เสี่ยงกับการกระทบโครงสร้างของฟัน เช่น เคี้ยวของแข็งจนฟันแตก เป็นต้น ผลกระทบจากการได้ไม่รับการรักษา วิธีปฏิบัติตัวและปฐมพยาบาลเบื้องต้น

รากฟันเทียม

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน รากฟันเทียมคืออะไร รากฟันเทียม คือ การรักษาเพื่อทดแทนฟันที่หายไปเนื่องจากฟันผุ โรคเหงือกหรืออุบัติเหตุ โดยใช้วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร ซึ่งรากฟันเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการทดแทนฟันที่ดีที่สุด โดยรากเทียมจะผลิตขึ้นจากวัสดุโลหะไทเทเนียม หรือเซรามิกที่สามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี จากนั้นทันตแพทย์จะเป็นผู้ออกแบบรูปร่างและสีของครอบฟันบนรากเทียมให้มีความใกล้เคียงกับสีของฟันธรรมชาติมากที่สุด การใส่ฟันรากเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมอบประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ทำให้คนไข้สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ ช่วยเรื่องการพูดออกเสียง และความสวยงามอีกด้วย ประโยชน์อื่น ๆ ของการทำฟันรากเทียมคือช่วยลดการละลายของสันกระดูกตำแหน่งที่ฟันหายไป เนื่องจาก หลังจากเวลาผ่านไปกระดูกที่ทำหน้าที่รองรับรากฟันของซี่ที่ได้รับการถอนจะเกิดการละลาย ส่งผลให้เกิดการยุบตัวของกระดูกบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะจะกระทบบริเวณฟันหน้าด้านบน ส่งผลให้โครงหน้าเปลี่ยน มุมปากตก หน้ายุบ ดูมีอายุเกินวัย  แต่การทำฟันรากเทียมจะช่วยรักษากระดูกรองรับรากฟันไว้และช่วยคงไว้ซึ่งกระดูกส่วนนั้นให้คงอยู่สภาพเดิมและละลายได้ช้ากว่าทำ ทำให้คนไข้ยิ้มได้อย่างมั่นใจได้มากกว่า ส่วนประกอบของรากฟันเทียม ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม ข้อดีของรากฟันเทียม ข้อจำกัดของรากฟันเทียม โดยทั่วไปผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปสามารถรักษาด้วยรากเทียมได้ แต่ไม่ยังแนะนำให้ทำในผู้ที่อายุยังไม่ถึง 20 ปีเนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ และในกรณีที่คนไข้สามารถทำการรักษาได้หลังจากช่วงคลอดและให้นมบุตรแล้ว ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น คนไข้โรคเบาหวานชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคมะเร็งที่รับการรักษาด้วยการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร คนไข้โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง คนที่เป็นป่วยเป็นโรคลูคิเมีย ผู้ที่รับรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษากระดูกพรุนบางตัว หรือผู้ที่สูบบุหรี่จัด อาจไม่สามารรถทำการรักษาได้ หรืออาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาอื่นๆเพิ่มเติมก่อนทำการผ่าตัดฝังรากเทียม

วีเนียร์

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน วีเนียร์คืออะไร การทำวีเนียร์ (Dental Veneer) คือแผ่นวัสดุที่มีสีและรูปร่างใกล้เคียงกับเคลือบฟันธรรมชาติ และนำไปยึดติดกับผิวฟัน เพื่อแก้ไขความผิดปกติต่างๆ ของฟัน ทั้งรูปร่าง ขนาด หรือสีฟัน มีความแข็งแรง คงทน และสวยงาม วีเนียร์มีกี่ประเภท 1. เคลือบฟันเทียมที่ทำโดยตรงในช่องปาก (Direct Veneer)เป็นทำโดยตรงในช่องปาก กล่าวคือหลังจากกรอเตรียมผิวฟันแล้วทันตแพทย์จะเคลือบผิวฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันซึ่งคล้ายกับการอุดฟัน มีข้อดีคือ สามารถทำเสร็จในครั้งเดียว และราคาถูกกว่า แต่มีข้อเสียในเรื่องความคงทน อายุการใช้งานที่น้อยกว่า ความสวยงาม และต้องอาศัยทักษะความชำนาญของทันตแพทย์ผู้ทำสูง 2. เคลือบฟันเทียมที่ทำนอกช่องปาก (Indirect Veneer)หลังจากกรอเตรียมผิวฟันแล้วทันตแพทย์จะพิมพ์ฟันเพื่อนำไปสร้างชิ้นงานโดยช่างทันตกรรมในห้องปฏิบัติการ วิธีนี้จะมีหลายขั้นตอน และต้องมาทำการรักษาหลายครั้ง โดยแผ่นวีเนียร์มักจะเป็นวัสดุชนิด Ceramic ซึ่งจะมีความสวยงาม และแข็งแรงใกล้เคียงฟันธรรมชาติ มีอายุการใช้งาน 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแลรักษา วีเนียร์ช่วยแก้ไขฟันที่มีปัญหาแบบใดได้บ้าง วีเนียร์กับฟอกสีฟันต่างกันอย่างไร ฟอกสีฟัน เป็นการทำให้ฟันขาวขึ้นด้วยสารเคมีที่เข้าไปทำปฏิกิริยาในเนื้อฟันทำให้ฟันขาว สว่างขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปฟันจะกลับมาเหลืองได้อีกตามการใช้งานและอาหารที่รับประทาน มีคราบสีติดได้ แต่วัสดุวีเนียร์จะไม่ดูดสี ความขาวจะคงทนกว่า และเกิดคราบสีบนผิวฟันได้ยากกว่า วีเนียร์กับครอบฟันต่างกันอย่างไร วีเนียร์ เหมาะที่จะนำมาแก้ไขความผิดปกติของฟัน…

ฟันเทียม

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ฟันเทียมคืออะไร ฟันเทียม หรือฟันปลอมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นมาใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่ถอนไป หรือใช้เพื่อทดแทนเนื้อฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว ป้องกันการเกิดปัญหาการล้มเอียงของฟัน ป้องกันการยื่นยาวของฟันคู่สบ ช่วยในการออกเสียง ชะลออัตราการสึกฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่และเพื่อความสวยงาม ชนิดของฟันเทียม ขั้นตอนการรักษา วิธีการดูแลรักษาฟันเทียม ฟันเทียมชนิดถอดได้1. ผู้ป่วยควรถอดออกทำความสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร และก่อนนอน2. ใช้แปรงสีฟันขนนิ่มร่วมกับน้ำสบู่อ่อนหรือยาสีฟันชนิดที่ไม่มีผงขัด แปรงทำความสะอาดทั้งด้านนอกและด้านในของฟันเทียม3. ควรถอดฟันเทียมก่อนนอน หลังรับประทานอาหารเย็นเสร็จ หรือเมื่อไม่ได้ใช้ฟันปลอมในการบดเคี้ยวอาหาร พบปะผู้คน เพื่อป้องกันการเกิดเนื้อเยื่อในช่องปากอักเสบหรือติดเชื้อราใต้ฐานฟันปลอม4. เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว ควรแช่น้ำในภาชนะที่มีฝาปิด5. ฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ในช่องปากก็จำเป็นต้องได้รับการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม เนื่องจากผู้ป่วยมักจะทำความสะอาดได้ยากขึ้น โดยเฉพาะฟันด้านที่ติดกับสันเหงือกไร้ฟัน อาจใช้แปรงขนาดเล็ก หรือผ้าก๊อซเช็ดทำความสะอาดร่วมด้วย ฟันเทียมแบบติดแน่นการดูแลและทำความสะอาดจะเหมือนฟันธรรมชาติคือ แปรงฟันอย่างถูกวิธี ร่วมกับการใช้เครื่องมือช่วยอื่น เช่น ไหมขัดฟัน ทั้งนี้ ฟันที่ทำครอบฟันหรือสะพานฟันติดแน่นแล้วนั้น ยังสามารถเกิดรอยผุต่อได้ถ้าหากดูแลไม่ถูกวิธี

ทันตกรรมเด็ก

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pediatric Dentistry) เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็ก มีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน ทั้งร่างกาย และความร่วมมือ ฟันเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่เด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างมาก ฟันน้ำนมในเด็กนั้นมีซี่เล็กกว่าและลักษณะโครงสร้างอื่นๆที่ต่างจากฟันแท้ ทำให้จำเป็นต้องมี “ทันตกรรมสำหรับเด็ก” โดยเฉพาะขึ้น ทันตกรรมสำหรับเด็ก คือการรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นมาในช่องปาก ในช่วงอายุประมาณ 6 – 8 เดือน ไปจนถึงช่วงวัยรุ่นตอนกลางอายุประมาณ 15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันแท้ขึ้นมาแทนฟันน้ำนมทั้งหมดแล้ว โดยจะเน้นไปที่การดูแลฟันน้ำนมเป็นหลัก ทั้งการแนะนำในการดูแลฟันน้ำนม การทำทันตกรรมเพื่อป้องกันฟันน้ำนมผุ และรักษาฟันผุ เพื่อให้ฟันน้ำนมคงอยู่ในช่องปากจนกว่าฟันแท้จะขึ้นมาทดแทน และดูแลฟันแท้ที่ขึ้นมาในช่องปากตั้งแต่อายุยังน้อยให้คงทนและแข็งแรงต่อไปจนกว่าเด็กจะสามารถดูแลสุขภาพฟันของตนเองได้ ทันตกรรมสำหรับเด็กแตกต่างกับทันตกรรมผู้ใหญ่อย่างไร ทันตกรรมสำหรับเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากฟันน้ำนมในเด็กกับฟันแท้ในผู้ใหญ่มีโครงสร้างที่แตกต่างกัน การทำฟันเด็กจะเน้นดูแลและป้องกันฟันผุเป็นหลัก เนื่องจากลักษณะของฟันน้ำนมนั้น ผุได้ง่ายกว่าฟันแท้ นอกจากนี้ เด็กยังเป็นวัยที่ไม่สามารถแยกความเจ็บปวด ออกจากความกลัวหรือความเครียดได้ เมื่อมีอาการปวดฟันหรือรู้สึกกดดันเมื่อทำฟันก็จะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำฟันเด็กจึงต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องจิตวิทยาการสื่อสารกับเด็กๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่แตกต่างกับทันตกรรมในผู้ใหญ่ค่อนข้างมาก ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง? พาลูกไปหาหมอฟันที่ไหนดี เราดูแลฟันของเด็กๆ โดยทันตแพทย์เด็กผู้เชี่ยวชาญ ในสถานทันตกรรมที่สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานทางทันตกรรม คลินิกอยู่ริมถนน ใกล้กับห้างเซนทรัลพิษณุโลกเพียง 350 เมตร มีลานจอดรถกว้างขวาง เดินทางสะดวก

ทันตกรรมทั่วไป

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ทันตกรรมทั่วไป ทันตกรรมทั่วไป คือ การดูแลรักษาสุขภาพฟันและช่องปากพื้นฐาน การให้คำปรึกษา การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นต่าง ๆ รวมถึงการตรวจ รักษา ดูแลสุขภาพช่องปากประจำปี ครอบคลุมรักษาเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน เช่น การอุดฟัน ถอนฟัน และทันตกรรมป้องกัน เช่น ขูดหินปูน เคลือบหลุมรองฟัน เคลือบฟลูออไรด์ เป็นต้น การตรวจวินิจฉัย และให้คำปรึกษาการตรวจวินิจฉัย และให้คำปรึกษา เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการตรวจเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละบุคคล ในขั้นตอนนี้อาจมีการถ่ายภาพรังสี พิมพ์ปาก ถ่ายภาพในช่องปาก แสกนช่องปากสามมิติ เพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น การดูแลสุขภาพเหงือก การดูแลสุขภาพเหงือก เป็นดูแลสุขภาพช่องปาก เหงือก และฟันโดยการกำจัดคราบแบคทีเรียและหินปูน โดยเครื่องมืออัลตราโซนิคกระเทาะหินปูนเพื่อให้หินปูนหลุดจากผิวฟัน รวมกับการขูดโดยใช้เครื่องมือแบบด้ามเก็บรายละเอียด จากนั้นทำการขัดผิวฟันให้เรียบด้วยผงขัดฟัน และอาจจะมีการเคลือบฟลูออไรด์เพื่อลดการเสียวฟันและป้องกันฟันผุเพิ่มเติม การขูดหินปูน ขัดฟัน จะช่วยลดคราบบนฟัน ลดกลิ่นปาก และป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวม และป้องกันการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ อันเป็นสาเหตุให้ฟันโยก และสูญเสียฟัน การอุดฟัน การอุดฟัน คือ วิธีการบูรณะฟันที่มีการสูญเสียเนื้อฟันไป ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น…